วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สื่อนิทานสำหรับเด็กปฐมวัย

                                                              

                                 

                                 

สื่อการสอนคณิตศาสตร์

 
 
 
อุปกรณ์
     1.ไม้กระดาน (อาจใช้กระดาษหลังรูปแทนได้)
     2.เลื่อย คัตเตอร์ กรรไกร
     3.สีสเปย์
     4.กระดาษทราย
     5.กระดาษวาดรูป
     6.สีไม้
     7.สติกเกอร์สำหรับเคลือบ
     8.แล็กเกอร์
     9.น็อต

วิธีทำ
     1.ออกแบบสื่อการสอนที่ต้องการโดยวาดแบบเป็นวงกลม2วง วงหนึ่งนั้นให้เป็นฐานและอีกหนึ่งวงให้เป็นตัวเรือนนาฬิกา โดยในส่วนที่จะทำเป็นตัวเลขให้เจาะเป็นวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม จากนั้นให้ใช้เลื่อยฉลุเลื่อยออกมา และขัดด้วยกระดาษทราย และเลื่อยไม้ออกมา2ชิ้นเพื่อทำเป็นเข็มนาฬิกา

     2.พ่นสีรองพื้นด้วยสีขาวเนื่องจากไม้มีสีน้ำตาลหากพ่นสีลงไปอาจทำให้สี เพี้ยนได้ เมื่อสีขาวแห้งให้ลงสีพื้น โดยให้ลงสีที่ต้องการประมาน2รอบเพื่อให้สีเนียน จากนั้นเมื่อสีที่ต้องการแห้ง ให้ลงแล็กเกอร์เคลือบอีก 2 รอบ เพื่อความเงางามและคงทน

     3.นำแผ่นไม้ เข็มนาฬิกา มาประกอบกันเป็นตัวนาฬิกา

     4.วาดภาพกิจวัตรประจำวันที่เด็กต้องทำและระบายสีให้สวยงาม จากนั้นให้ให้นำไปติดกับกระดาษหลังรูปเพื่อความแข็งแรง และเคลือบด้วยสติกเกอร์เพื่อความคงทน

วิธีการเล่น
     ในชุดการเล่นตัวเลขบอกเวลาสามารถถอดออกมาได้  โดยให้เด็กนำกลับไปเรียงใส่ในช่องให้ถูกต้อง  และให้เด็กๆช่วยกันสังเกตภาพกิจวัตรประจำวัน  และให้ดูเวลา จากนั้นให้เด็ๆนำภาพไปใส่ในช่องว่างที่ และใส่ภาพว่าเวลานี้เป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน

ประโยชน์ที่ได้รับ
     1.เด็กได้รู้จักเวลา และกิจวัตรประจำวัน
     2.เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรง
     3.ฝึกความคิดและการกล้าตัดสินใจ

การทำหุ่นมือ


 สื่อ การสอนเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับครูที่จะช่วยดึงดูดความสนใจของเด็กให้อยาก เรียนในเรื่องที่เราสอน สื่อการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยนั้นมีหลายอย่าง แต่ที่ดิฉันนำมาให้ดูเป็นตัวอย่าง คือ หุ่นมือ ที่ใช้ประกอบการเล่านิทานให้เด็กฟัง ซึ่งจะทำให้นิทานที่ครูจะเล่าดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น หุ่นมือที่จะใช้ประกอบการเล่านิทานนั้นมีหลายรูปแบบแต่ที่ดิฉันจะนำเสอนทุก คนคือ หุ่นมือจากผ้าสักกะหลาด
เห็นรูปแล้วอยากทำกันเเล้วใช่มั้ยละ แต่ก่อนที่จะทำเรามารู้จักอุปกรณ์ในการทำกันก่อนนะ
1. ผ้าสักกะหลาดสีต่างๆ                  8. ใยสังเคราะห์
2. เข็ม ด้าย
3. กรรไกร
4.ดินสอ ยางลบ ไม้บรรทัด
5. รูปภาพตัวการ์ตูนต่างๆ
6. แบบที่จะใช้ทำ
7.ไหมพรหม
รู้จักอุปกรณ์กันไปแล้ว มาเริ่มทำกันเลยดีกว่า
1. นำรูปภาพตัวการ์ตูนที่เตรียมมา มาวาดเป็นแบบไว้สำหรับนำไปวาดลงบนผ้าสักกะหลาด โดยให้วาดแยกเป็นชิ้นส่วนดังนี้ ส่วนหัว ส่วนลำตัว ตา จมูก ปาก
2. เมื่อได้แบบที่ต้องการเเล้วให้นำไปวาดลงบนผ้าสักกะหลาด  จากนั้นให้ตัดชิ้นส่วนที่วาดเสร็จเเล้ว โดยการตัดให้ตัดชิ้นส่วนหัว 2 อัน ชิ้นส่วนตัว 2อัน ส่วนประกอบอื่นให้ตัวอย่างละ1 อัน
3. จากนั้นก็นำชิ้นส่วนที่เป็นตา ปาก จมูก และส่วนประกอบอื่นๆที่อยู่ตรงบริเวณหน้ามาเย็บกับส่วนหัว 1 ด้าน เมื่อเย็บเสร็จให้เย็บหัวทั้งสองส่วนประกอบกันโดยใช้ไหมพรหมในการเย็บ ซึ่งผู้เย็บจะต้องเหลือช่องไว้สำหรับยัดใยสังเคราะห์ หลังจากเย็บเสร็จให้นำใยสังเคราะห์มายัดใสลงไปในส่วนหัวให้มีมันป่องขึ้นมา ให้ดูมีมิติมากขึ้น
4. นำส่วนตัวที่ตัดไว้มาเย็บประกบกันโดยใช้ไหมพรหมในการเย็บ
5. นำส่วนหัวและลำตัวที่เย็บเสร็จเเล้วมาเย็บต่อกัน
แค่นี้เราก็จะได้หุ่นมือน่ารักๆมาเป็นสื่อในการเล่านิทานให้เด็กฟังแล้วจ้า

สื่อปฐมวัย+กรอบรูป



จำ ได้ว่าตอนเริ่มเอาไม้ไอติมมาทำใหม่ๆ นั้น จะเป็นงานศิลปะสำหรับเด็กๆ อนุบาล แล้วจึงค่อยๆ พัฒนามาเป็นงานประดิษฐ์สำหรับเยาวชน … DIY ในขณะนั้นจึงเป็นการแนะนำการใช้ไม้ไอติมมาเป็นสื่อการเรียนการสอน ให้เด็กๆ ได้รู้จักรูปเรขาคณิตแบบง่ายๆ และนำกลับไปต่อยอดกับพี่ๆ ที่บ้าน

รูปที่ 1 กรอบรูปติดหน้าห้องเรียนของเจ้าตัวเล็กตอนอยู่อนุบาล

ช่วง หลังๆ มีน้องๆ ที่ฝึกสอนเด็กเล็กขอคำแนะนำเรื่องการจัดทำสื่อการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยด้วย ไม้ไอติม บอกว่าอยากให้เป็นแบบที่สามารถต่อยอดนำกลับมาใช้ได้ใหม่ หรือนำมาดัดแปลงให้ใช้ประโยชน์ได้อีก เพื่อเด็กๆ จะได้รู้จักคุณค่าของงานที่ทำ


รูปที่ 2 กรอบไม้ไอติม ที่จะนำมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ (Reuse)

ความ จริงแล้วไม้ไอติมเป็นวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อยู่แล้ว เพราะรื้อออกได้ไม่ยาก แต่ถ้าต้องการจูงใจให้เด็กๆ นำมาทำงานประดิษฐ์ที่ต่อยอดได้ ก็จะทำให้ได้ประโยชน์ต่อเนื่อง ทั้งเป็นการสอนให้เด็กๆ ได้รู้จักคิด รู้จักดัดแปลง และได้ฝึกจินตนาการ


รูปที่ 3 นำมาเป็นสื่อการสอนเรื่องของโทนสีและการจัดวาง

งาน แบบนี้จะทำให้เด็กๆ เล่นได้นานขึ้น และได้เรียนรู้เรื่องของสี การผสมสี และการจัดเรียงเพื่อให้ได้โทนสีกลมกลืนกัน หรือตัดกัน ทั้งยังสามารถสลับปรับเปลี่ยนได้หลายแบบ เมื่อเบื่อแล้วก็ยังนำไป ใช้ทำอย่างอื่นๆ ได้อีก


รูปที่ 4 ตัวอย่างกรอบสี่เหลี่ยม 2 อันต่อกัน ทำเป็นกรอบรูปตั้งโต๊ะ

การทำกรอบรูป
• เริ่มต้นด้วยการนำไม้ไอติม 4 อัน มาทำเป็นกรอบสี่เหลี่ยม 
• จากนั้นจึงให้ทำซ้าอีก 1 กรอบ แล้วมาต่อกันในลักษณะมุมฉาก กรอบนั้นก็จะตั้งได้มั่นคงขึ้น
• แล้วจึงเอาไม้ไอติมมาทากาวประกบด้านใน ทั้งข้างล่างและด้านบน (เหมือนรูปที่ 2) 
• ก็จะเป็นกรอบรูปตั้งโต๊ะ ไว้สำหรับเอารูปมาเสียบได้ทั้ง 2 ด้าน


รูปที่ 5 ทดลองนำกระป๋องน้ำผลไม้มาติดไว้ด้านหลังเป็นที่ใส่ดินสอสี

ทั้ง หมดเป็นการนำเอา “ไอเดีย” จากความคิด มาขึ้นรูปเป็นโครงอย่างง่ายๆ ก่อนที่จะนำมาออกแบบต่อเติม รายละเอียดอื่นๆ ตามจินตนาการของเด็กๆ อย่างอิสระ … ไว้ครั้งหน้าจะเอางานตัวอย่างของเจ้าตัวเล็กมาอวด

สื่อสำหรับเด็กปฐมวัย

สื่อของเด็กปฐมวัย

สื่อ หมายถึง ตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้หรือเป็นตัวกลางในการนำความต้องการจากผู้ส่งไปยังผู้รับเพื่อให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ประเภทสื่อของเด็กปฐมวัย
        1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ
        2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์
        3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ

การเลือกสื่อ มีวิธีการดังนี้
        1. เลือกให้ตรงกับจุดมุ่งหมายและเรื่องที่สอน
        2. เลื่อกให้เหมาะสมกับวัยและความสามารถของเด็ก
        3. เลือกให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมท้องถิ่นที่เด็กอาศัยอยู่

การจัดหาสื่อ
        1. จัดหาโดยการของยืมจากแหล่งต่างๆ
        2. จัดซื้อสื่อ
        3. ผลิตขึ้นเอง

การใช้สื่อ
      ในการใช้สื่อการสอนทุกครั้ง ต้องมีการเตรียมความพร้องของสื่อก่อนที่จะนำไปใช้ โดยมีขั้นตอนดังนี้คือ
         1. เตรียมครูผู้สอน
         2. เตรียมตัวเด็ก
         3. เตรียมสื่อ

การนำเสนอสื่อ
         1. เร้าความสนใจเด็กด้วยคำถามก่อน
         2. ใช้สื่อดำเนินกิจกรรมตามลำดับขั้นตอนที่วางแผนไว้
         3. ไม่ควรให้เด็กเห็นสื่อก่อน เพราะอาจทำให้เด็กหมดความสนใจ

การดูแล การเก็บรักษาสื่อ
         1. เก็บให้เป็นระเบียบตามประเภทของสื่อ
         2. วางสื่อไว้ในระดับสายตาเด็ก เพื่อที่เด็กสามารถหยิบใช้ง่าย
         3. เก็บสื่อไว้ในภาชนะที่โปร่งใส เพื่อให้เด็กมองเห็นสื่งที่อยู่ข้างใน และควรมีขนาดพอเหมาะที่เด็กสามารถขนย้ายได้
         4. ฝึกให้เด็กรู้ความหมายของรูปภาพ สี สัญลักษณ์แทนหมวดหมู๋ ประเภท เพื่อให้เด็กสามารถเก็บได้อย่างถูกต้อง
         5. ตรวจสอบสภาพสื่อทุกครั้งหลังใช้เสร็จ
         6. ซ่อมแซมสื่อที่ชำรุด และเติมส่วนที่ขาดหายไป

การประเมินสื่อ  พิจารณาจากองค์ประกอบ 3 ประการ คือ ผู้สอน เด็ก และสื่อ ใช้วิธีการสังเกตดังนี้
         1. สื่อนั้นช่วยให้เด็กเรียนรู้มากเพียงใด
         2. เด็กชอบสื่อนั้นมากเพียงใด
         3. สื่อนั้นช่วยให้การสอนตรงกับจุดประสงค์มากหรือไม่ ถูกต้องตามสาระการเรียนรู้และทันสมัยหรือไม่
        4. สื่อนั้นช่วยให้เด็กสนใจมากน้อยเพียใด เพาระเหตุใด
 
การพัฒนาสื่อ
        1. ปรับปรุงสื่อให้ทันสมัยเข้ากับเหตุการ ใช้สะดวก ไม่ยุ่งยาก
        2. รักษาความสะอาดของสื่อ
        3. ถ้าเป็นสื่อที่ผลิตขึ้นเอง ควรมีคู่มือประกอบการใช้สือด้วย
        4. พัฒนาสื่อให้สามารถช่วยเสริมสร้างพัฒนาการและเป็นของเล่นได้ด้วย